บอแรกซ์ (Borax) น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ เป็นสารประกอบที่สำคัญของโบรอน ชื่อทางเคมี โซเดียมโบเรท ชื่อสามัญ น้ำประสานทอง หรือผงเนื้อกรอบ หรือเพ่งแซ เมื่อถ้าอยู่ในรูปผลึกบริสุทธิ์จะไม่มีสี ถ้านำไปเผาต่อจนไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุลจะเรียกน้ำประสานทองสะตุ เป็นผงมีสีขาว ละลายน้ำได้ง่าย มีรสขมเล็กน้อย
การผลิต
บอแรกซ์ (Borax) พบได้ในธรรมชาติตามก้นทะเลสาบหลายแห่งที่แห้งในฤดูแล้ง รวมทั้งมักพบปนในดินและน้ำใต้ดินในแถบพื้นที่ใกล้ภูเขาไฟ บอแรกซ์ที่ผลิตในทางการค้าทั้งหมดมาจากธรรมชาติ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญได้แก่ สหรัฐ ชิลี ตุรกี อิหร่าน ธิเบต โรมาเนีย เป็นต้น
บอแรกซ์ (Borax)
การใช้ประโยชน์
บอแรกซ์ประมาณ 70 % ที่ผลิต ถูกใช้เป็นส่วนผสมในการทำแก้วและเซรามิก บอแรกซ์เป็นสารที่มีการใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ใช้สกัดแร่ทองคำ เป็นฟลักซ์ในการเชื่อมโลหะ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านหลายอย่าง เช่น เป็นส่วนผสมในสารทำความสะอาด สบู่ ยาสีฟัน ใช้เป็นสารปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำ ในภาคเกษตรใช้ทำปุ๋ยให้โบรอนซึ่งเป็นธาตุอาหารรองที่พืชต้องการรวมทั้งสามารถใช้ทำยาเบื่อแมลงเนื่องจากมีความเป็นพิษต่อแมลง
บอแรกซ์ (Borax) ถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารมาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยเฉพาะใช้ในการถนอมอาหาร บอแรกซ์สามารถใช้แทนเกลือแกงในกรณีที่ไม่ต้องการให้มีรสเค็ม เช่นใช้ดองไข่ปลาคาร์เวียร์เป็นต้น ชาวเอเชียบางประเทศนิยมใส่ในแป้งให้เหนียวกรุบ ใส่ในลูกชิ้นทำให้เนื้อเหนียวเด้ง ประวัติการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ยาวนานนับพันปีทำให้นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่าบอแรกซไม่มีอันตรายต่อมนุษย์
อันตราย และ ข้อโต้แย้ง
บอแรกซ์ (Borax) เป็นสารที่มีข้อถกเถียงโต้แย้งว่าปลอดภัยหรือมีอันตราย ข้อมูลที่ทั้งสองฝ่ายนำมาเสนอมีความขัดแย้งกันอย่างมาก การรับฟังข้อมูลควรพิจารณา ข้อมูลที่ทางราชการของประเทศไทยยอมรับอยู่ในกลุ่มที่เชื่อว่าบอแรกซ์มีอันตราย แต่ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้จะยึดถือตาม Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษซึ่งให้ระดับอันตรายเท่ากับ 1 คือ อาจก่อเกิดความระคายเคืองเท่านั้น
อันตรายแยกเป็นสองประเภท คือ ความเป็นพิษ (toxicity) กับ ความเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen)
ความเป็นพิษ (toxicity) บอแรกซ์ไม่มีความเป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อร่างกายคล้ายการได้รับเกลือแกง (NaCl) อาการเป็นพิษจะเกิดต่อเมื่อได้รับบอแรกซ์เป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูงมาก ปริมาณที่เป็นพิษ (median lethal dose) คือ 2.66 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่เกลือแกงจะเกิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย กลไกการเกิดพิษและอาการที่ถูกพิษก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับการได้รับเกลือแกงมากเกินขนาด
ความเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) ในอดีตเคยมีรายงานการทดลองทางการแพทย์อ้างว่าการให้หนูทดลองรับประทานบอแรกซ์ในปริมาณที่สูงมากๆติดต่อกันหลายปีอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ ในสหรัฐ EPA ออกข้อจำกัดการใช้บอแรกซ์ในปี พ.ศ. 2489 อย่างไรก็ตามผลการทดลองทางการแพทย์นี้มีข้อเคลือบแคลง เนื่องจากเทียบเท่ากับการใช้ปริมาณบอแรกซ์ที่สูงมากติดต่อกัน 5-10 ปี ซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขที่จะเป็นจริงในทางปฏิบัติ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 EPA ได้ประเมินใหม่ว่าไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบอแรกซ์มีอันตรายหรืออาจก่อให้เกิดมะเร็ง การประเมินซ้ำในปี พ.ศ. 2549 ยืนยันว่าไม่พบความเป็นอันตรายของบอแรกซ์ [3]
ในปัจจุบันหลายประเทศยังคงห้ามใช้บอแรกซ์เป็นส่วนผสมในอาหารรวมทั้งประเทศไทย
หากท่านสนใจสินค้าสามารถติดต่อได้ที่ คุณมโน เบอร์โทรศัพท์ 089-5147020
ชื่อสินค้า | ที่มา | ขนาดบรรจุ |
---|---|---|
1.บอแรกซ์ 5 น้ำ (Borax) | USA | 25 kgs / Bag. |
2.บอแรกซ์ 10 น้ำ (Borax) | USA | 25 kgs / Bag. |